ผู้ก่อตั้ง
นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล
ผู้บุกเบิกงานอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทย
นพ.บุญส่ง เลขะกุล ผู้ก่อตั้งมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการอนุรักษ์ธรรมชาติของไทย ความทุ่มเทและความพยายามที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนหนังสือและบทความที่ท่านเขียนซึ่งได้ถูกตีพิมพ์และอ่านอย่างกว้างขวาง จึงได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือนบิดาแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติของเมืองไทย
ชาตะ 15 ธันวาคม 2450
มรณะ 9 กุมภาพันธ์ 2535
การศึกษา
แพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ผลงานที่สำคัญ
เปิดแสดงพิพิธภัณฑ์สัตว์(ส่วนตัว) ในงานแสดงวิทยาศาสตร์ประจำปีขงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแสดงปาฐกถา เรื่อง สัตว์ป่าในเมือง ในปี 2493
ก่อตั้งนิยมไพรสมาคม เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพฤกษชาติและสัตว์ป่านานาชนิด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักธรรมาติแก่ประฃาชนและเยาวชน ในปี 2495
- เขียนบทความเรื่องนกในประเทศไทย ในวารสารวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2498 เขียนเรื่องสัตว์ป่าลงในสยามรัฐ 100 ตอน
- ฉายสไลด์และภาพยนตร์ทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน โดยถ่ายทำเอง
- พิมพ์นิตยสารนิยมไพร เมื่อเดือนเมษายน 2501 และพัฒนาเป็น ข่าวนิยมไพร(Conservation News) และสารนิยมไพร (Conservation for Thai Yoiuths)
- แต่งหนังสือ นิตยสารและสารคดี เช่น เที่ยวป่า ธรรมชาตินานาสัตว์ ชีวิตของฉัน ลูกกระทิง ฯลฯ
- จัดนำผู้สนใจเที่ยวป่า
- เขียนเรื่องธรรมชาติให้แก่ราชบัณฑิตสถานและกระทรวงศึกษาธิการ
รณรงค์ผลักดันรัฐบาลให้ออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 10 ปี จนกระทั้งรัฐบาลประกาศใช้
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503
- พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
- ประกาศเขาใหญ่และภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505
ช่วยประชาชนจัดตั้งเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
- ช่วยจัดการคุ้มครองนกปากห่าง วัดไผ่ล้อม จ. ปทุมธานี ปี 2497
- เขตห้ามล่าวัดนิยมไพรวนารามทับตะโก ปี 2502
- ช่วยจัดตั้งเขตสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ปี 2513
ก่อตั้งชมรมดูนกกรุงเทพ ปี 2505
จัดให้มีงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ตั้งแต่ ปี 2511
พัฒนาอาชีพชาวเขาบนดอนอินทนนท์ให้ปลูกพืชทดแทนฝิ่นและรักษาป่าที่เหลือ
แต่งหนังสือวิชาการเกี่ยวกับสัตว์
- Birds Guide of Thailand พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2511 ครั้งที่ 2 ปี 2517 ครั้งที่ 3 ปี 2534
- Mammals of Thailand ปี 2520
- Feild Guide to Butterflies of Thailand ปี 2520
- สัตว์ในวรรณคดี
- บทความต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ก่อตั้งมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพิชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ 13 ตุลาคม 2526
ส่วนหนึ่งแห่งเกียรติยศ
2514 สมาชิกกิตติมศักดิ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF)
2517 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์ ช้างเผือก (ต.ช.)
2519 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศุกดิ์(วนศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2521 สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรพัยากรธรรมชาติ (IUCN)
2522 รางวัล J. Pual Getty Wildlife Conservation Prize เป็นคนที่ 4 ของโลก เป็นคนแรกของเอเชีย
2522 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2523 เครื่องราชอิสริยาภรณ์โกลเด้นอาร์ค (The Order of the Golden Ark) จากเจ้าชายเบิร์นฮาร์ด แห่งเนเธอแลนด์
2528 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.1)
สรุปงานเขียนของ น.พ.บุญส่ง เลขะกุล
บทความ 66 เรื่อง
สารคดี 62 เรื่อง
ตำรา 34 เรื่อง
นิยาย 3 เรื่อง
รายชื่อชนิดดสัตว์ที่ได้รับการตั้งชื่อ
ค้างคาวหน้ายักษ์หมอบุญส่ง Hipposideros lekaguli
งูลายสอหมอบุญส่ง Parahelicops boonsongi
กระรอกหลากสีหมอบุญส่ง Callosciurus finalaysoni boonsongi
นกปรอดเล็กตาขาวหมอบุญส่ง Hypsipetes propinquus lekhakuni
นกจับแมลงคอน้ำตาลแดงหมอบุญส่ง Cyornis banyumas lekhakuni
อึ่งกรายหมอบุญส่ง Xenophrys lekaguli
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
A true conservationist is a man who knows that the world is not given by his fathers, but borrowed from his children.
นักอนุรักษ์ที่แท้จริงคือคนที่รู้ว่าโลกและธรรมชาติไม่ได้เป็นมรดกจากบรรพบุรุษ แต่ยืมมาจากลูกหลาน
John James Audubon
นักอนุรักษ์ที่แท้จริงคือคนที่รู้ว่าโลกและธรรมชาติไม่ได้เป็นมรดกจากบรรพบุรุษ แต่ยืมมาจากลูกหลาน
John James Audubon
Born a wildlife warrior, die a wildlife warrior.
เกิดเป็นนักอนุรักษ์ ตายอย่างนักอนุรักษ์
Steve Irwin
เกิดเป็นนักอนุรักษ์ ตายอย่างนักอนุรักษ์
Steve Irwin
It is horrifying that we have to fight our own government to save the environment.
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราต้องต่อสู้กับรัฐบาลของเราเอง เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
Ansel Adams
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราต้องต่อสู้กับรัฐบาลของเราเอง เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
Ansel Adams